วันพุธที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ประวัติความเป็นมาของลีลาศและความหมายของลีลาศ


การเต้นรำพื้นเมืองในฉบับที่เรียกว่าลีลาศนี้มีการพัฒนาที่เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับการเต้นรำพื้นเมือง
(Folk Dance) และการเต้นบัลเลย์ (Ballet) เป็นอย่างยิ่ง ในที่นี้จะแบ่งประวัติความเป็นมาหรือพัฒนาการของลีลาศออกเป็น 2 สมัย คือ สมัยเก่าและสมัยใหม่
สมัยเก่า
ความต้องการการเต้นรำเป็นหนึ่งในสัญชาตญาณของมนุษย์ อารมณ์เป็นตัวกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการเคลื่อนไหวขึ้น และความต้องการอันเป็นสัญชาตญาณอันเก่าแก่นี้ก็ยังคงมีอยู่ตลอดมาไม่เปลี่ยนแปลง แม้ว่าอารยธรรม ความเจริญ ประกอบกับการเกิดจังหวะดนตรีต่างๆ ที่ได้นำมาผสมผสานเข้ากับการเคลื่อนไหวร่างกายแล้ว การเต้นรำจึงได้เกิดขึ้น แล้วจึงอาจสรุปได้ว่า อารมณ์และจังหวะดนตรีทำให้เกิดการเต้นรำขึ้น
การเต้นรำที่มีรูปแบบที่แน่นอนเกิดขึ้นในช่วงกลาง คริสต์ศตวรรษที่ 17 หลังจากที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ได้ก่อตั้งราชบัณฑิตสภาการดนตรีและการเต้นรำขึ้น (Acadmie Royale de Musique et de Danse) โดยบรรดาสมาชิกราชบัณฑิตยสภาฯ ได้กำหนดตำแหน่งการวางเท้าทั้ง 5 ก้าวในการเต้นรำแบบแซงปาสใน ขณะเดียวกันได้มีการกำหนดกฎระเบียบที่เคร่งครัดในการเต้นรำทุกประเภทขึ้นเป็นครั้งแรกในช่วงเวลานี้เป็นช่วงความรุ่งเรือของการเต้นรำแบบมินูเอและกาวอตเต้ มินูเอซึ่งแต่เดิมเป็นการเต้นรำพื้นเมืองของชาวปัวตูได้เข้ามาในปารีสในปี ค.. 1650 และต่อมาได้มีการใส่ทำนองดนตรีโดย หลุยส์และพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงนำเข้ามาใช้เต้นรำในที่สาธารณชน จึงอาจกล่าวได้ว่าได้มีการควบคุมการเต้นรำแบบบอลรูมตั้งแต่นั้นมาจนกระทั่งสิ้นสุดคริสต์ศตวรรษที่ 18
สมัยใหม่
การเต้นรำที่จัดอยู่ในช่วงสมัยใหม่เริ่มตั้งแต่ปี ค.. 1812 เมื่อมีการนำการจับคู่เต้นรำแบบใหม่ คือ การจับมือและโอบเอวคู่เต้นรำ (Modern Hold) มาใช้กับการเต้นรำจังหวะวอลซ์ (Waltz) ซึ่งในขณะนั้นถูกต่อต้านอย่างหนักจากฝ่ายศาสนจักรโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากผู้ปกครอง แต่ในที่สุดสังคมก็ยอมรับการเต้นรำแบบใหม่นี้ เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ (Alexander) แห่งรัสเซียได้เต้นรำจังหวะวอลซ์ที่อัลแมค ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับผู้ที่เกียรติยศชั้นสูง
ในประเทศสหรัฐอเมริกาปี ค.. 1960 ได้มีการเต้นรำจังหวะใหม่ๆ เกิดขึ้น โดยพวกอเมริกันนิโกร คือ จังหวะทวิสต์ (Twist) และจังหวะฮัสเซิ่ล (Hustle) ซึ่งได้รับความนิยมไปทั่วโลกและต่อมาในปี ค.. 1970 เกิดจังหวะการเต้นรำที่เรียกว่า ดิสโก้ (Disco Dancing) ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง เนื่องจากเป็นจังหวะที่ผู้เต้นมีอิสระในการเคลื่อนไหวอย่างมาก และยังมีการเต้นรำแบบใหม่ๆ เกิดขึ้นอีกหลายจังหวะ เช่น แฟลชแดนซ์ (Flash Dance) , เบรกแดนซ์ (Break Dance) และแรพ (Rap) เป็นต้น ซึ่งมักมีการกำเนิดจากพวกอเมริกัน
นิโกร นอกจากนั้นยังมีการเต้นรำโดยใช้ท่าการบริหารร่างกายประกอบจังหวะดนตรีที่ เรียกว่า แอโรบิกแดนซ์
(Aerobic Dance) ซึ่งยังคงได้รับความนิยมมากจนถึงปัจจุบันนี้ การเต้นรำในแบบและจังหวะต่างๆ เหล่านี้ไม่จัดอยู่ในประเภทของการลีลาศ


ประวัติการลีลาศของประเทศไทย
ไม่มีหลักฐานยืนยันได้แน่ชัดว่าการลีลาศในประเทศไทยเกิดขึ้นในสมัยใด สันนิษฐานว่าชาวต่างชาติได้นำมาเผยแพร่ในรัชสมัยของพรบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จุลศักราช 1226 จากบันทึกของ
แหม่มแอนนาทำให้มีหลักฐานเชื่อได้ว่าคนไทยลีลาศเป็นมาตั้งแต่สมัยพระองค์ และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงรบการยกย่องให้เป็นนักลีลาศคนแรกของไทย ตามบันทึกกล่าวว่าแหม่มแอนนาพยายามสอนพระองค์ท่านให้รู้จักวิธีการเต้นรำแบบสุภาพซึ่งเป็นที่นิยมของชาวตะวันตก โดยบอกว่าจังหวะวอลซ์นั้นหรูมาก นิยมเต้นกันในวังของประเทศในแถบยุโรป พร้อมกับแสดงท่าทางการเต้น พระองค์ท่านกลับสอนว่าใกล้เกินไป แขนต้องวางให้ถูกแล้ว พระองค์ท่านก็เต้นทำให้แหม่มแอนนาประหลาดใจ จึงไม่สามารถรู้ได้ว่าใครเป็นผู้สอนพระองค์ จึงได้สันนิษฐานกันว่าพระองค์ท่านคงจะศึกษาจากตำราด้วยพระองค์เอง
ปัจจุบันลีลาศได้รับการรับรองให้เป็นกีฬาจากคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (International Olympic Committee = IOC ) อย่างเป็นทางการมรการประชุมครั้งที่ 106 วันที่ 4 กันยายน พ.. 2540
ณ เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สำหรับในประเทศไทยคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย
ในสมัยที่มีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นประธานคณะกรรมการได้มีมติรับรองลีลาศเป็นการกีฬาอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่
18 กุมภาพันธ์ พ..2541 จัดเป็นกีฬาลำดับที่ 45 ของการกีฬาแห่งประเทศไทย และยังได้จัดให้มีการแข่งขันกีฬาลีลาศ(สาธิต)ขึ้นเป็นครั้งแรกในการแข่งขันกีฬา
เอเชียนเกม ครั้งที่
13 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ณ กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 6-20 ธันวาคม พ..2541


ความหมายของลีลาศ
       คำว่า ลีลาศ” หรือ “เต้นรำ” มีความหมายเหมือนกัน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานปีพุทธศักราช 2525ได้ให้ความหมายดังนี้
         ลีลาศ เป็นนามแปลว่า ท่าทางอันงดงาม การเยื้องกราย เป็นกิริยาแปลว่า เยื้องกราย เดินนวยนาด
         เต้นรำ เป็นกิริยาแปลว่า เคลื่อนที่ไปโดยมีระยะก้าวให้เข้ากับจังหวะดนตรี ซึ่งเรียกว่า ลีลาศ โดยปกติเต้นเป็นคู่ชายหญิง

       คนไทยนิยมเรียกการลีลาศว่า  “ เต้นรำ ”  มานานแล้ว  คำว่าลีลาศตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Ballroom  Dancing” หมายถึง การเต้นรำของคู่ชายหญิงตามจังหวะดนตรีที่มีแบบอย่างและลวดลายการเต้นเฉพาะตัว  โดยมีระเบียบของการชุมนุม  สถานที่อันจัดไว้ในสังคมใช้ในงานราตรีสโมสรต่าง ๆ และมิใช่การแสดงเพื่อให้คนดู  นอกจากนี้ยังมีคำอีกคำหนึ่งที่มักจะได้ยินกันอยู่เสมอคือคำว่า“Social  Dance” ส่วนใหญ่มักจะนำมาใช้ในความหมายเดียวกันกับคำว่า Ballroom  Dancing แต่ในประเทศสหรัฐอเมริกา
คำว่า
Social Dance หมายถึง การเต้นรำทุกประเภทที่จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คนมาอยู่ร่วมกันและได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเต้นรำเป็นหมู่คณะ  เพื่อให้ได้ความสนุกสานเพลิดเพลิน  จึงกล่าวได้ว่า Ballroom  Dancing เป็นส่วนหนึ่งของ Social  Dance (ธงชัย  เจริญทรัพย์มณี. 2538 : 1)
      อาจสรุปได้ว่า  “ลีลาศ” คือกิจกรรมเข้าจังหวะประเภทหนึ่ง เป็นการเต้นรำที่แสดงออกอย่างมีศิลปะ โดยใช้เสียงเพลงและจังหวะดนตรีเป็นสื่อ เพื่อให้เกิดความสนุกสนามเพลิดเพลิน มีลวดลายการเต้น (Figure) เป็นแบบเฉพาะตัว และมักนำลีลาศมาใช้ในงานสังคมทั่วๆไป