วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554

โรคที่เกิดจากการกระทำ

 โรคเครียด
          โรคเครียดเป็นโรคที่จัดได้ว่าเกิดได้ง่ายที่สุด ความเครียดอาจจะเป็นความรู้สึกที่คู่กับมนุษย์ คนที่มีความทุกข์มากๆมักจะปล่อยใจให้หลงคิดและกังวลอยู่ในอดีตที่ผ่านไปแล้วแก้ไขไม่ได้  หรือกังวลล่วงหน้าในเรื่องอนาคตที่ยังมาไม่ถึง ลืมอยู่กับปัจจุบัน ลืมชื่นชมปัจจุบันซึ่งจะทำให้ใจสงบและมีความสุข
          ในคนปกติความเครียดที่เกิดจะสัมพันธ์กับเหตุการณ์หรือ สิ่งแวดล้อม เช่น ในการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย นักเรียนจะรู้สึกเครียด เพราะการสอบนั้นอาจไม่ได้ผลตามที่คาดหวังไว้ ความกังวลล่วงหน้าคือการคาดว่าผลที่จะเกิดขึ้นอาจไม่เป็นไปตามความต้องการหรือจะทำให้เกิดอันตราย  นักเรียนก็จะเกิดความเครียด ความวิตกกังวล 


อาการ
       มึนงง ปวดตามกล้ามเนื้อ กัดฟัน ปวดศีรษะ แน่นท้อง เบื่ออาหาร นอนหลับยาก หัวใจเต้นเร็ว หูอื้อ มือเย็น อ่อนเพลีย ท้องร่วง ท้องผูก จุกท้อง มึนงง เสียงดังให้หู คลื่นไส้อาเจียน หายใจไม่อิ่ม ปวดท้อง   การแสดงออกทางด้านจิตใจ วิตกกังวล ตัดสินใจไม่ดี ขี้ลืม สมาธิสั้น ไม่มีความคิดริเริ่ม ความจำไม่ดี ไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ

การดำเนินของโรค
   โรคนี้มักเป็นในวัยรุ่น และเป็นต่อเนื่องไปถึงวัยผู้ใหญ่  อาการเกิดสัมพันธ์กับความเครียดในการดำเนินชีวิต  คนที่มีปัญหาบุคลิกภาพจะเกิดอาการได้มากกว่าคนทั่วไป  ทำให้มีปัญหาในการทำงาน เกิดความเจ็บป่วยทางร่างกายมากๆจนไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ เมื่อชีวิตไม่มีปัญหา อาการจะสงบลง

การรักษา
   การรักษาใช้หลายๆวิธีรวมกัน ได้แก่
1. การรักษาโรคทางกายให้สงบ  ตามอาการที่เกิด เช่น ใช้ยาลดกรดในกระเพาะรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหาร  ยาลดความดันโลหิตรักษาโรคความดันโลหิตสูง ฯลฯ การรักษานี้เป็นการรักษาที่ปลายเหตุ แต่ก็จำเป็นต้องทำก่อน เพื่อลดอาการต่างๆ ให้ผู้ป่วยสบายขึ้น มิฉะนั้นอาการต่างๆเหล่านั้นจะทำให้ผู้ป่วยเกิดความเครียดต่อเนื่อง 
2. การรักษาทางจิตใจ การผ่อนคลายความเครียด และทำใจให้สงบ การออกกำลังกายให้แข็งแรง จิตใจเผชิญความเครียดได้ดี มีการผ่อนคลาย งานอดิเรก พักผ่อนหย่อนใจ
3. การจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม สถานที่ทำงาน ที่อยู่อาศัย ไม่เครียด การทำงานพอเหมาะ ไม่หนักมากเกินไป  มีเวลาพักผ่อน


น.ส.ปภาวรินทร์ พลอมร ม.6/4 เลขที่ 21
  

ภูมิปัญญาไทย

                        ภูมิปัญญาไทย หมายถึง ความรู้ ความสามารถ วิธีการ ผลงานที่คนไทยได้ศึกษา
เก็บรวบรวมความรู้
และจัดเป็นองค์ความรู้ ปรับปรุง พัฒนา ถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง จนเกิดผลดีงาม มีคุณค่า มีประโยชน์ นำไปแก้ปัญหาและพัฒนาชีวิตของคนไทยได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัย


ประเภทของภูมิปํญญา
         ภูมิปัํญญาไทย แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ ชาติ และระดับท้องถิ่น
        1. ภูมิปัญญาระดับชาติ 
เป็นภูมิปัญญาที่พัฒนาสังคมไทยให้รอดพ้นจากวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ในอดีต
เช่น การกอบกู้เอกราชโดยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และการเสียแผ่นดินบางส่วนของประเทศไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระจึุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อรักษาเอกราชชาติไทย ทำให้ประเทศไทยไม่ตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตกในยุคล่าอณานิคม หรือจักรวรรดินิยม             
        2. ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือภูมิปัญญาชาวบ้าน คือสิ่งที่แสสดงความรู้ ความคิดและการกระทำของบรรพบุรุษของเรา เพื่อที่ดำรงชีวิตอย่างมีความสุข



ลักษณะของภูมิปัญญาไทย
         ลักษณะของภูมิปัญญาไทย มีดังนี้
         
1. ภูมิปัญญาไทย เป็นเรื่องใช้ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) ความเชื่อ (Belief)
และพฤติกรรม (Behavior)
         2. ภูมิปัญญาไทย แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและคนกับ
สิ่งเหนือธรรมชาติ
         3. ภูมิปัญญาไทย เป็นองค์รวมหรือกิจกรรมทุกอย่างในวิถีชีวิต
         4. ภูมิปัญญาไทย เป็นเรื่องของการแก้ไขปัญหา การจัดการ การปรับตัว การเรียนรู้ เพื่อคงวามอยู่รอด
ของบุคคล ชุมชน และสังคม
         5. ภูมิปัญญา เป็นแกนหลัก หรือกระบวนทัศน์ในการมองชีวิต เป็นพื้นความรู้ในเรื่องต่าง ๆ
         6. ภูมิปัญญาไทยมีลักษณะเฉพาะหรือมีเอกลักษณ์ในตัวเอง
         7. ภูมิปัญญาไทยมีการเปลี่ยนแปลง เพื่อการปรับสมดุลในพัฒนาการทางสังคมตลอดเวลา



ภูมิปัญญาไทยด้านการแพทย์แผนไทย
      การอบด้วยสมุนไพร ตัวอย่างสมุนไพรที่ใช้อบมีดังนี้
1. ไพล แก้อาการปวดเมื่อย ครั่นเนื้อครั่นตัว
2. ขมิ้นชัน แก้โรคผิวหนัง สมานแผล
3. กระชาย แก้ปากเปื่อย ปากแตกเป็นแผล ใจสั่น
4. ตะไคร้ ดับกลิ่นคาว บำรุงธาตุไฟ
5. ใบมะขาม แก้อาการคัน ตามร่างกาย
6. ใบเปล้าใหญ่ ช่วยถอนพิษผิดสำแดง บำรุงผิวพรรณ
7. ใบ - ลูกมะกรูด แก้ลมวิงเวียน ช่วยระบบทางเดินหายใจ
8. ใบหนาด แก้โรคผิวหนังผุพอง น้ำเหลืองเสีย
9. ใบส้มป่อย แก้หวัด แก้ปวดเมื่อย
10. ว่านน้ำ ช่วยขับเหงื่อ แก้ไข้
11. พิมเสน การบูร แต่งกลิ่น บำรุงหัวใจ โรคผิวหนัง
     สรรพคุณ
ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย อาการวิงเวียนศีรษะ ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต บำรุงผิวพรรณ




      การประคบสมุนไพร
ตัวยาที่ใช้ทำลูกประคบ

1. ไพล แก้ปวดเมื่อย ลดอาการอักเสบ
2. ผิว - ใบมะกรูด มีน้ำมันหอมระเหย แก้ลมวิงเวียน
3. ตะไคร้บ้าน แต่งกลิ่น
4. ใบมะขาม แก้อาการคันตามร่างกาย ช่วยบำรุงผิว
5. ขมิ้นอ้อย ช่วยลดอาการอักเสบ แก้โรคผิวหนัง
6. เกลือ ช่วยดูดความร้อน ช่วยทำให้ตัวยาซึมซาบผ่านผิวหนัง
7. การบูร บำรุงหัวใจ
8. ใบส้มป่อย ช่วยบำรุงหัวใจ แก้โรคผิวหนัง ลดความดัน

     ประโยชน์ของการประคบสมุนไพร
บรรเทาอาการปวดเมื่อย ช่วยลดอาการบวม อักเสบของกล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อ ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ช่วยให้เนื้อเยื่อ พังผืด ยืดตัวออก ลดอาการติดขัดของข้อต่อ ลดอาการปวด ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด


         การนวด
           การนวดเป็นการช่วยกระตุ้นให้ระบบการไหลเวียนของโลหิตดีขึ้นโดยใช้แบบราชสำนักเป็นพื้น อาจมีการนวดแบบเชลยศักดิ์บ้างเพราะชาวบ้านบางคนชอบเนื่องจากเป็นกันเองดี
               การนวดบางกรณีต้องมีการประคบหรือต้องอบสมุนไพรเพิ่มด้วยเพื่อให้ เลือดลมเดินเร็วขึ้น หายโรคเร็วขึ้นด้วย

นส.ปภาวรินทร์ พลอมร ม.6/4 เลขที่ 21

วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

มาออกกำลังกายกันเถอะ

                         การออกกำลังกาย
                         การออกกำลังกายทำให้สุขภาพทั่วไปแข็งแรงสมบูรณ์ขึ้น ไม่เหนื่อยอ่อนเพลียง่าย อาหารย่อยได้ดีขึ้น อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ เรอเปรี้ยว อาหารไม่ย่อยจะหมดไป นอนหลับง่าย และได้สนิทขึ้น ลดความเครียด ความวิตกกังวล และอารมณ์ซึมเศร้า หรืออาการประสาทอื่น ๆ ลดความอ้วนได้ผลดีที่สุดทำให้จิตใจสดชื่น แจ่มใส ปลอดโปร่ง อารมณ์เยือกเย็นมั่นคง กระดูกแข็งแรงขึ้น แม้อายุจะมากขึ้นก็ตาม หัวใจแข็งแรงขึ้น เป็นวิธีป้องกันโรคหัวใจได้ผลดีที่สุด ช่วยฟื้นฟูสภาพหัวใจที่ผิดปกติ เช่น หลอดเลือดโคโรนารี่ ของหัวใจตีบตัน


                         การออกกำลังกายแบบง่ายๆมีหลายวิธี
    1. เดิน
      เดินสะสมระยะทางให้ได้ 15 กม. ต่อสัปดาห์ หรือเฉลี่ยวันละ 3-5 กม.
      เดินสะสมในระยะเวลา 6-7 เดือน หรือจะเดินสะสมระยะเวลาให้ได้ 150 นาทีต่อสัปดาห์ หรือเฉลี่ยวันละ 30 นาทีหรือแบ่งเป็น 2 รอบ รอบละ 15 นาที 


    การฝึกการหายใจสำหรับการเดิน
             ถ้าเราฝึกการหายใจควบคู่ไปกับการเดิน จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการออกกำลังกายมากขึ้น จะช่วยทำให้กล้ามเนื้อกระบังลมทำงานได้ดี ออกซิเจนและเลือดจะส่งไปให้กล้ามเนื้อทั่วร่างกายอย่างเพียงพอทำให้หัวใจไม่ต้องทำงานหนักจนเกินไป
     เทคนิคการฝึกหายใจอย่างง่าย
             ขณะเดินให้หายใจเข้า กลั้นหายใจไว้สักครู่แล้วก้าวเดิน จากนั้นหายใจออกแล้วก้าวเดิน
ทำเช่นนี้อยู่เสมอ จำนวนการก้าวเดินที่ระยะเวลาที่กลั้นหายใจนั้นอาจขึ้นอยู่กับความสามารถในแต่ละคน โดยจะต้องไม่อึดอัด อาจจะค่อยๆเพิ่มจำนวนเก้าได้ ถ้าสามารถกลั้นหายใจได้นาน
             การนับและหายใจเข้า-ออกขณะเดินนี้ควรทำเพียงคราวละ 1-2 นาที หรือจนกว่ารู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมการหายใจให้เป็นจังหวะได้จึงค่อยหยุด หากสามารถคุมการหายใจได้คล่องแล้ว สามารถนำเทคนิคนี้ไปทำกับการออกกำลังกายประเภทอื่นได้ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการหายใจทำให้ปอดและหัวใจทำงานได้ดียิ่งขึ้น
   
     2. วิ่ง  

      วิ่ง 100-200 เมตร หรือขึ้น-ลงบันได 2 เที่ยวแล้วพัก ยังไม่มีผลต่อหัวใจมากนัก ไม่ช่วยลดพุง
      วิ่ง 1.5 กม. ใน 8 นาที เริ่มมีผลต่อหัวใจแต่ยังไม่ลดพุง
      วิ่งต่อเนื่องไม่หยุด 12 นาที มีผลต่อหัวใจและลดพุง
      วิ่งต่อเนื่องไม่หยุด 30 นาทีขึ้นไป มีผลต่อหัวใจ ลดพุงชัดเจน


    3. ยกน้ำหนักเบา ๆ บ่อย ๆ
      ทำให้กล้ามเนื้อกระชับ ไม่ลีบ
      ระดับฮอร์โมนต่าง ๆ ทำงานได้คงที่ เช่น อินซูลิน
      ระดับความดันเลือดคงที่



    4. แอโรบิคเบา ๆ บ่อย ๆ
      ลดความเครียด เกร็ง ของกล้ามเนื้อ
      ชะลอขบวนการเสื่อมจากวัยของระบบกล้ามเนื้อ หัวใจ ปอด และกระดูก
      ต้องทำนาน 20 นาทีเป็นอย่างน้อย อาจเป็นการวิ่งออกกำลังอยู่กับที่ ขี่จักรยานอยู่กับที่ หรือเต้นแอโรบิค

    การออกกำลังกายแบบไหนไม่ดี    
      -ในคนอ้วน
         ไม่ควร : เต้นแอโรบิค วิ่งเร็ว ๆ กระโดดเชือก หรือการออกกำลังกายที่มีการกระแทก

      -ผู้ป่วยความดันในเลือดสูง
         ไม่ควร : ยกน้ำหนัก ดำน้ำลึก สควอช

         ควร : ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ เต้นรำ เทนนิส จ๊อกกิ้ง

    ออกกำลังกายบ่อยแค่ไหนดี   
      -ช่วงเริ่มฝึก 1-2 สัปดาห์แรก

                อายุไม่มาก ควรออกกำลังกาย 2-3 วันต่อสัปดาห์
                อายุมากกว่า 40 ปี ควรออกกำลังกาย 1-2 วันต่อสัปดาห์

      -หากฝึกมาสักระยะ ให้มีความก้าวหน้า

                คงไว้ที่ 3 วันต่อสัปดาห์
                เต็มที่ 5 วันต่อสัปดาห์
                ไม่ควรเป็น 7 วันต่อสัปดาห์ เพราะร่างกายต้องการพักบ้าง

    ออกกำลังกายนานแค่ไหนดี
         ครั้งละ 30 นาที ในช่วงเริ่มต้น น้ำหนักอาจยังไม่ลด

         เพิ่มเป็นครั้งละ 60 นาที น้ำหนักลดแน่นอน

         รวมแล้วให้ได้ 150-200 นาทีต่อสัปดาห์ รวม 16 สัปดาห์





จัดทำโดย น.ส.ปภาวรินทร์ พลอมร ม6/4 เลขที่ 21