โรคเครียด
โรคเครียดเป็นโรคที่จัดได้ว่าเกิดได้ง่ายที่สุด ความเครียดอาจจะเป็นความรู้สึกที่คู่กับมนุษย์ คนที่มีความทุกข์มากๆมักจะปล่อยใจให้หลงคิดและกังวลอยู่ในอดีตที่ผ่านไปแล้วแก้ไขไม่ได้ หรือกังวลล่วงหน้าในเรื่องอนาคตที่ยังมาไม่ถึง ลืมอยู่กับปัจจุบัน ลืมชื่นชมปัจจุบันซึ่งจะทำให้ใจสงบและมีความสุข
ในคนปกติความเครียดที่เกิดจะสัมพันธ์กับเหตุการณ์หรือ สิ่งแวดล้อม เช่น ในการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย นักเรียนจะรู้สึกเครียด เพราะการสอบนั้นอาจไม่ได้ผลตามที่คาดหวังไว้ ความกังวลล่วงหน้าคือการคาดว่าผลที่จะเกิดขึ้นอาจไม่เป็นไปตามความต้องการหรือจะทำให้เกิดอันตราย นักเรียนก็จะเกิดความเครียด ความวิตกกังวล
อาการ
มึนงง ปวดตามกล้ามเนื้อ กัดฟัน ปวดศีรษะ แน่นท้อง เบื่ออาหาร นอนหลับยาก หัวใจเต้นเร็ว หูอื้อ มือเย็น อ่อนเพลีย ท้องร่วง ท้องผูก จุกท้อง มึนงง เสียงดังให้หู คลื่นไส้อาเจียน หายใจไม่อิ่ม ปวดท้อง การแสดงออกทางด้านจิตใจ วิตกกังวล ตัดสินใจไม่ดี ขี้ลืม สมาธิสั้น ไม่มีความคิดริเริ่ม ความจำไม่ดี ไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
การดำเนินของโรค
โรคนี้มักเป็นในวัยรุ่น และเป็นต่อเนื่องไปถึงวัยผู้ใหญ่ อาการเกิดสัมพันธ์กับความเครียดในการดำเนินชีวิต คนที่มีปัญหาบุคลิกภาพจะเกิดอาการได้มากกว่าคนทั่วไป ทำให้มีปัญหาในการทำงาน เกิดความเจ็บป่วยทางร่างกายมากๆจนไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ เมื่อชีวิตไม่มีปัญหา อาการจะสงบลง
การรักษา
การรักษาใช้หลายๆวิธีรวมกัน ได้แก่
1. การรักษาโรคทางกายให้สงบ ตามอาการที่เกิด เช่น ใช้ยาลดกรดในกระเพาะรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหาร ยาลดความดันโลหิตรักษาโรคความดันโลหิตสูง ฯลฯ การรักษานี้เป็นการรักษาที่ปลายเหตุ แต่ก็จำเป็นต้องทำก่อน เพื่อลดอาการต่างๆ ให้ผู้ป่วยสบายขึ้น มิฉะนั้นอาการต่างๆเหล่านั้นจะทำให้ผู้ป่วยเกิดความเครียดต่อเนื่อง
2. การรักษาทางจิตใจ การผ่อนคลายความเครียด และทำใจให้สงบ การออกกำลังกายให้แข็งแรง จิตใจเผชิญความเครียดได้ดี มีการผ่อนคลาย งานอดิเรก พักผ่อนหย่อนใจ
3. การจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม สถานที่ทำงาน ที่อยู่อาศัย ไม่เครียด การทำงานพอเหมาะ ไม่หนักมากเกินไป มีเวลาพักผ่อน
น.ส.ปภาวรินทร์ พลอมร ม.6/4 เลขที่ 21
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น