วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554

โรคที่เกิดจากการกระทำ

 โรคเครียด
          โรคเครียดเป็นโรคที่จัดได้ว่าเกิดได้ง่ายที่สุด ความเครียดอาจจะเป็นความรู้สึกที่คู่กับมนุษย์ คนที่มีความทุกข์มากๆมักจะปล่อยใจให้หลงคิดและกังวลอยู่ในอดีตที่ผ่านไปแล้วแก้ไขไม่ได้  หรือกังวลล่วงหน้าในเรื่องอนาคตที่ยังมาไม่ถึง ลืมอยู่กับปัจจุบัน ลืมชื่นชมปัจจุบันซึ่งจะทำให้ใจสงบและมีความสุข
          ในคนปกติความเครียดที่เกิดจะสัมพันธ์กับเหตุการณ์หรือ สิ่งแวดล้อม เช่น ในการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย นักเรียนจะรู้สึกเครียด เพราะการสอบนั้นอาจไม่ได้ผลตามที่คาดหวังไว้ ความกังวลล่วงหน้าคือการคาดว่าผลที่จะเกิดขึ้นอาจไม่เป็นไปตามความต้องการหรือจะทำให้เกิดอันตราย  นักเรียนก็จะเกิดความเครียด ความวิตกกังวล 


อาการ
       มึนงง ปวดตามกล้ามเนื้อ กัดฟัน ปวดศีรษะ แน่นท้อง เบื่ออาหาร นอนหลับยาก หัวใจเต้นเร็ว หูอื้อ มือเย็น อ่อนเพลีย ท้องร่วง ท้องผูก จุกท้อง มึนงง เสียงดังให้หู คลื่นไส้อาเจียน หายใจไม่อิ่ม ปวดท้อง   การแสดงออกทางด้านจิตใจ วิตกกังวล ตัดสินใจไม่ดี ขี้ลืม สมาธิสั้น ไม่มีความคิดริเริ่ม ความจำไม่ดี ไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ

การดำเนินของโรค
   โรคนี้มักเป็นในวัยรุ่น และเป็นต่อเนื่องไปถึงวัยผู้ใหญ่  อาการเกิดสัมพันธ์กับความเครียดในการดำเนินชีวิต  คนที่มีปัญหาบุคลิกภาพจะเกิดอาการได้มากกว่าคนทั่วไป  ทำให้มีปัญหาในการทำงาน เกิดความเจ็บป่วยทางร่างกายมากๆจนไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ เมื่อชีวิตไม่มีปัญหา อาการจะสงบลง

การรักษา
   การรักษาใช้หลายๆวิธีรวมกัน ได้แก่
1. การรักษาโรคทางกายให้สงบ  ตามอาการที่เกิด เช่น ใช้ยาลดกรดในกระเพาะรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหาร  ยาลดความดันโลหิตรักษาโรคความดันโลหิตสูง ฯลฯ การรักษานี้เป็นการรักษาที่ปลายเหตุ แต่ก็จำเป็นต้องทำก่อน เพื่อลดอาการต่างๆ ให้ผู้ป่วยสบายขึ้น มิฉะนั้นอาการต่างๆเหล่านั้นจะทำให้ผู้ป่วยเกิดความเครียดต่อเนื่อง 
2. การรักษาทางจิตใจ การผ่อนคลายความเครียด และทำใจให้สงบ การออกกำลังกายให้แข็งแรง จิตใจเผชิญความเครียดได้ดี มีการผ่อนคลาย งานอดิเรก พักผ่อนหย่อนใจ
3. การจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม สถานที่ทำงาน ที่อยู่อาศัย ไม่เครียด การทำงานพอเหมาะ ไม่หนักมากเกินไป  มีเวลาพักผ่อน


น.ส.ปภาวรินทร์ พลอมร ม.6/4 เลขที่ 21
  

ภูมิปัญญาไทย

                        ภูมิปัญญาไทย หมายถึง ความรู้ ความสามารถ วิธีการ ผลงานที่คนไทยได้ศึกษา
เก็บรวบรวมความรู้
และจัดเป็นองค์ความรู้ ปรับปรุง พัฒนา ถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง จนเกิดผลดีงาม มีคุณค่า มีประโยชน์ นำไปแก้ปัญหาและพัฒนาชีวิตของคนไทยได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัย


ประเภทของภูมิปํญญา
         ภูมิปัํญญาไทย แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ ชาติ และระดับท้องถิ่น
        1. ภูมิปัญญาระดับชาติ 
เป็นภูมิปัญญาที่พัฒนาสังคมไทยให้รอดพ้นจากวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ในอดีต
เช่น การกอบกู้เอกราชโดยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และการเสียแผ่นดินบางส่วนของประเทศไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระจึุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อรักษาเอกราชชาติไทย ทำให้ประเทศไทยไม่ตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตกในยุคล่าอณานิคม หรือจักรวรรดินิยม             
        2. ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือภูมิปัญญาชาวบ้าน คือสิ่งที่แสสดงความรู้ ความคิดและการกระทำของบรรพบุรุษของเรา เพื่อที่ดำรงชีวิตอย่างมีความสุข



ลักษณะของภูมิปัญญาไทย
         ลักษณะของภูมิปัญญาไทย มีดังนี้
         
1. ภูมิปัญญาไทย เป็นเรื่องใช้ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) ความเชื่อ (Belief)
และพฤติกรรม (Behavior)
         2. ภูมิปัญญาไทย แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและคนกับ
สิ่งเหนือธรรมชาติ
         3. ภูมิปัญญาไทย เป็นองค์รวมหรือกิจกรรมทุกอย่างในวิถีชีวิต
         4. ภูมิปัญญาไทย เป็นเรื่องของการแก้ไขปัญหา การจัดการ การปรับตัว การเรียนรู้ เพื่อคงวามอยู่รอด
ของบุคคล ชุมชน และสังคม
         5. ภูมิปัญญา เป็นแกนหลัก หรือกระบวนทัศน์ในการมองชีวิต เป็นพื้นความรู้ในเรื่องต่าง ๆ
         6. ภูมิปัญญาไทยมีลักษณะเฉพาะหรือมีเอกลักษณ์ในตัวเอง
         7. ภูมิปัญญาไทยมีการเปลี่ยนแปลง เพื่อการปรับสมดุลในพัฒนาการทางสังคมตลอดเวลา



ภูมิปัญญาไทยด้านการแพทย์แผนไทย
      การอบด้วยสมุนไพร ตัวอย่างสมุนไพรที่ใช้อบมีดังนี้
1. ไพล แก้อาการปวดเมื่อย ครั่นเนื้อครั่นตัว
2. ขมิ้นชัน แก้โรคผิวหนัง สมานแผล
3. กระชาย แก้ปากเปื่อย ปากแตกเป็นแผล ใจสั่น
4. ตะไคร้ ดับกลิ่นคาว บำรุงธาตุไฟ
5. ใบมะขาม แก้อาการคัน ตามร่างกาย
6. ใบเปล้าใหญ่ ช่วยถอนพิษผิดสำแดง บำรุงผิวพรรณ
7. ใบ - ลูกมะกรูด แก้ลมวิงเวียน ช่วยระบบทางเดินหายใจ
8. ใบหนาด แก้โรคผิวหนังผุพอง น้ำเหลืองเสีย
9. ใบส้มป่อย แก้หวัด แก้ปวดเมื่อย
10. ว่านน้ำ ช่วยขับเหงื่อ แก้ไข้
11. พิมเสน การบูร แต่งกลิ่น บำรุงหัวใจ โรคผิวหนัง
     สรรพคุณ
ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย อาการวิงเวียนศีรษะ ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต บำรุงผิวพรรณ




      การประคบสมุนไพร
ตัวยาที่ใช้ทำลูกประคบ

1. ไพล แก้ปวดเมื่อย ลดอาการอักเสบ
2. ผิว - ใบมะกรูด มีน้ำมันหอมระเหย แก้ลมวิงเวียน
3. ตะไคร้บ้าน แต่งกลิ่น
4. ใบมะขาม แก้อาการคันตามร่างกาย ช่วยบำรุงผิว
5. ขมิ้นอ้อย ช่วยลดอาการอักเสบ แก้โรคผิวหนัง
6. เกลือ ช่วยดูดความร้อน ช่วยทำให้ตัวยาซึมซาบผ่านผิวหนัง
7. การบูร บำรุงหัวใจ
8. ใบส้มป่อย ช่วยบำรุงหัวใจ แก้โรคผิวหนัง ลดความดัน

     ประโยชน์ของการประคบสมุนไพร
บรรเทาอาการปวดเมื่อย ช่วยลดอาการบวม อักเสบของกล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อ ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ช่วยให้เนื้อเยื่อ พังผืด ยืดตัวออก ลดอาการติดขัดของข้อต่อ ลดอาการปวด ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด


         การนวด
           การนวดเป็นการช่วยกระตุ้นให้ระบบการไหลเวียนของโลหิตดีขึ้นโดยใช้แบบราชสำนักเป็นพื้น อาจมีการนวดแบบเชลยศักดิ์บ้างเพราะชาวบ้านบางคนชอบเนื่องจากเป็นกันเองดี
               การนวดบางกรณีต้องมีการประคบหรือต้องอบสมุนไพรเพิ่มด้วยเพื่อให้ เลือดลมเดินเร็วขึ้น หายโรคเร็วขึ้นด้วย

นส.ปภาวรินทร์ พลอมร ม.6/4 เลขที่ 21

วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

มาออกกำลังกายกันเถอะ

                         การออกกำลังกาย
                         การออกกำลังกายทำให้สุขภาพทั่วไปแข็งแรงสมบูรณ์ขึ้น ไม่เหนื่อยอ่อนเพลียง่าย อาหารย่อยได้ดีขึ้น อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ เรอเปรี้ยว อาหารไม่ย่อยจะหมดไป นอนหลับง่าย และได้สนิทขึ้น ลดความเครียด ความวิตกกังวล และอารมณ์ซึมเศร้า หรืออาการประสาทอื่น ๆ ลดความอ้วนได้ผลดีที่สุดทำให้จิตใจสดชื่น แจ่มใส ปลอดโปร่ง อารมณ์เยือกเย็นมั่นคง กระดูกแข็งแรงขึ้น แม้อายุจะมากขึ้นก็ตาม หัวใจแข็งแรงขึ้น เป็นวิธีป้องกันโรคหัวใจได้ผลดีที่สุด ช่วยฟื้นฟูสภาพหัวใจที่ผิดปกติ เช่น หลอดเลือดโคโรนารี่ ของหัวใจตีบตัน


                         การออกกำลังกายแบบง่ายๆมีหลายวิธี
    1. เดิน
      เดินสะสมระยะทางให้ได้ 15 กม. ต่อสัปดาห์ หรือเฉลี่ยวันละ 3-5 กม.
      เดินสะสมในระยะเวลา 6-7 เดือน หรือจะเดินสะสมระยะเวลาให้ได้ 150 นาทีต่อสัปดาห์ หรือเฉลี่ยวันละ 30 นาทีหรือแบ่งเป็น 2 รอบ รอบละ 15 นาที 


    การฝึกการหายใจสำหรับการเดิน
             ถ้าเราฝึกการหายใจควบคู่ไปกับการเดิน จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการออกกำลังกายมากขึ้น จะช่วยทำให้กล้ามเนื้อกระบังลมทำงานได้ดี ออกซิเจนและเลือดจะส่งไปให้กล้ามเนื้อทั่วร่างกายอย่างเพียงพอทำให้หัวใจไม่ต้องทำงานหนักจนเกินไป
     เทคนิคการฝึกหายใจอย่างง่าย
             ขณะเดินให้หายใจเข้า กลั้นหายใจไว้สักครู่แล้วก้าวเดิน จากนั้นหายใจออกแล้วก้าวเดิน
ทำเช่นนี้อยู่เสมอ จำนวนการก้าวเดินที่ระยะเวลาที่กลั้นหายใจนั้นอาจขึ้นอยู่กับความสามารถในแต่ละคน โดยจะต้องไม่อึดอัด อาจจะค่อยๆเพิ่มจำนวนเก้าได้ ถ้าสามารถกลั้นหายใจได้นาน
             การนับและหายใจเข้า-ออกขณะเดินนี้ควรทำเพียงคราวละ 1-2 นาที หรือจนกว่ารู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมการหายใจให้เป็นจังหวะได้จึงค่อยหยุด หากสามารถคุมการหายใจได้คล่องแล้ว สามารถนำเทคนิคนี้ไปทำกับการออกกำลังกายประเภทอื่นได้ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการหายใจทำให้ปอดและหัวใจทำงานได้ดียิ่งขึ้น
   
     2. วิ่ง  

      วิ่ง 100-200 เมตร หรือขึ้น-ลงบันได 2 เที่ยวแล้วพัก ยังไม่มีผลต่อหัวใจมากนัก ไม่ช่วยลดพุง
      วิ่ง 1.5 กม. ใน 8 นาที เริ่มมีผลต่อหัวใจแต่ยังไม่ลดพุง
      วิ่งต่อเนื่องไม่หยุด 12 นาที มีผลต่อหัวใจและลดพุง
      วิ่งต่อเนื่องไม่หยุด 30 นาทีขึ้นไป มีผลต่อหัวใจ ลดพุงชัดเจน


    3. ยกน้ำหนักเบา ๆ บ่อย ๆ
      ทำให้กล้ามเนื้อกระชับ ไม่ลีบ
      ระดับฮอร์โมนต่าง ๆ ทำงานได้คงที่ เช่น อินซูลิน
      ระดับความดันเลือดคงที่



    4. แอโรบิคเบา ๆ บ่อย ๆ
      ลดความเครียด เกร็ง ของกล้ามเนื้อ
      ชะลอขบวนการเสื่อมจากวัยของระบบกล้ามเนื้อ หัวใจ ปอด และกระดูก
      ต้องทำนาน 20 นาทีเป็นอย่างน้อย อาจเป็นการวิ่งออกกำลังอยู่กับที่ ขี่จักรยานอยู่กับที่ หรือเต้นแอโรบิค

    การออกกำลังกายแบบไหนไม่ดี    
      -ในคนอ้วน
         ไม่ควร : เต้นแอโรบิค วิ่งเร็ว ๆ กระโดดเชือก หรือการออกกำลังกายที่มีการกระแทก

      -ผู้ป่วยความดันในเลือดสูง
         ไม่ควร : ยกน้ำหนัก ดำน้ำลึก สควอช

         ควร : ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ เต้นรำ เทนนิส จ๊อกกิ้ง

    ออกกำลังกายบ่อยแค่ไหนดี   
      -ช่วงเริ่มฝึก 1-2 สัปดาห์แรก

                อายุไม่มาก ควรออกกำลังกาย 2-3 วันต่อสัปดาห์
                อายุมากกว่า 40 ปี ควรออกกำลังกาย 1-2 วันต่อสัปดาห์

      -หากฝึกมาสักระยะ ให้มีความก้าวหน้า

                คงไว้ที่ 3 วันต่อสัปดาห์
                เต็มที่ 5 วันต่อสัปดาห์
                ไม่ควรเป็น 7 วันต่อสัปดาห์ เพราะร่างกายต้องการพักบ้าง

    ออกกำลังกายนานแค่ไหนดี
         ครั้งละ 30 นาที ในช่วงเริ่มต้น น้ำหนักอาจยังไม่ลด

         เพิ่มเป็นครั้งละ 60 นาที น้ำหนักลดแน่นอน

         รวมแล้วให้ได้ 150-200 นาทีต่อสัปดาห์ รวม 16 สัปดาห์





จัดทำโดย น.ส.ปภาวรินทร์ พลอมร ม6/4 เลขที่ 21

วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

งานโครงการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชนและสังคม


1.ชื่อโครงการ : สุขภาพดีเรื่ิมได้ที่ตัวเรา
2.หลักการและเหตุผล : โครงการนี้ส่งเสริมให้คนในชุมชน หมู่บ้าน และบรืเวณใกล้เคียงได้มีการ

ออกกำลังกายร่วมกัน เพื่อสร้างเสริมสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ปลอดโรคภัยไข้เจ็บ และเพื่อสร้าง

ความสัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชนให้ได้มีการพบปะ และแลกเปลี่ยนความคิดกัน
3.วัตถุประสงค์ : 1) ส่งเสริมให้คนในชุมชนออกกำลังกาย
                   2) ส่งเสริมให้คนในชุมชนมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง
                   3) เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
                   4) เพื่อให้ชุมชนปลอดภัยจากอบายมุขและสิ่งเสพติด
4.กลุ่มเป้าหมาย : ผู้คนที่อาศัยอยู่ใน หมู่บ้านปัญฐิญา ถ.บางกรวย-ไทรน้อย ต.บางสีทอง อ.บางกรวย

จ.นนทบุรี และผู้คนในชุมชนบริเวณใกล้เคียง ประมาณ1,500-2,000 คน
5.วิธีดำเนินการ :  1) สำราจความต้องการ
                     2) รวบรวมความคิดเห็นที่ได้รับมาประเมินผลในการจัดทำโครงการ
                     3) จัดทำโครงการ เสนอผู้อนุมัติ พิจารณา
                     4) ติดต่อสถานที่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง       
                     5) จัดโครงการส่งเสริมการออกกำลังกาย
                     6) ติดตามประเมินผลโครงการ
                     7) สรุปผลที่ได้จากโครงการ
6.ระยะเวลาดำเนินการ(ก.ค-ต.ค): 20 กรกฎาคม - 20 ตุลาคม 2554
7.สถานที่ดำเนินการ : ลานเอกประสงค์หมู่บ้านปัญฐิญา
8.งบประมาณ(20000) : 20000 บาท
9.ผลที่คาดว่าจะได้รับ : 1) คนในชุมชนจะมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง
                           2) คนในชุมชนจะมีความสามัคคีกัน
                           3) คนในชุมชนจะปลอดภัยจากสิ่งเสพติดและปลอดภัยจากโรค
10.ผู้รับผิดชอบโครงการ : นส.ปภาวรินทร์ พลอมร

จัดทำโดย น.ส.ปภาวรินทร์ พลอมร เลขที่ 22 ม.6/4

วันพุธที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ประวัติความเป็นมาของลีลาศและความหมายของลีลาศ


การเต้นรำพื้นเมืองในฉบับที่เรียกว่าลีลาศนี้มีการพัฒนาที่เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับการเต้นรำพื้นเมือง
(Folk Dance) และการเต้นบัลเลย์ (Ballet) เป็นอย่างยิ่ง ในที่นี้จะแบ่งประวัติความเป็นมาหรือพัฒนาการของลีลาศออกเป็น 2 สมัย คือ สมัยเก่าและสมัยใหม่
สมัยเก่า
ความต้องการการเต้นรำเป็นหนึ่งในสัญชาตญาณของมนุษย์ อารมณ์เป็นตัวกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการเคลื่อนไหวขึ้น และความต้องการอันเป็นสัญชาตญาณอันเก่าแก่นี้ก็ยังคงมีอยู่ตลอดมาไม่เปลี่ยนแปลง แม้ว่าอารยธรรม ความเจริญ ประกอบกับการเกิดจังหวะดนตรีต่างๆ ที่ได้นำมาผสมผสานเข้ากับการเคลื่อนไหวร่างกายแล้ว การเต้นรำจึงได้เกิดขึ้น แล้วจึงอาจสรุปได้ว่า อารมณ์และจังหวะดนตรีทำให้เกิดการเต้นรำขึ้น
การเต้นรำที่มีรูปแบบที่แน่นอนเกิดขึ้นในช่วงกลาง คริสต์ศตวรรษที่ 17 หลังจากที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ได้ก่อตั้งราชบัณฑิตสภาการดนตรีและการเต้นรำขึ้น (Acadmie Royale de Musique et de Danse) โดยบรรดาสมาชิกราชบัณฑิตยสภาฯ ได้กำหนดตำแหน่งการวางเท้าทั้ง 5 ก้าวในการเต้นรำแบบแซงปาสใน ขณะเดียวกันได้มีการกำหนดกฎระเบียบที่เคร่งครัดในการเต้นรำทุกประเภทขึ้นเป็นครั้งแรกในช่วงเวลานี้เป็นช่วงความรุ่งเรือของการเต้นรำแบบมินูเอและกาวอตเต้ มินูเอซึ่งแต่เดิมเป็นการเต้นรำพื้นเมืองของชาวปัวตูได้เข้ามาในปารีสในปี ค.. 1650 และต่อมาได้มีการใส่ทำนองดนตรีโดย หลุยส์และพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงนำเข้ามาใช้เต้นรำในที่สาธารณชน จึงอาจกล่าวได้ว่าได้มีการควบคุมการเต้นรำแบบบอลรูมตั้งแต่นั้นมาจนกระทั่งสิ้นสุดคริสต์ศตวรรษที่ 18
สมัยใหม่
การเต้นรำที่จัดอยู่ในช่วงสมัยใหม่เริ่มตั้งแต่ปี ค.. 1812 เมื่อมีการนำการจับคู่เต้นรำแบบใหม่ คือ การจับมือและโอบเอวคู่เต้นรำ (Modern Hold) มาใช้กับการเต้นรำจังหวะวอลซ์ (Waltz) ซึ่งในขณะนั้นถูกต่อต้านอย่างหนักจากฝ่ายศาสนจักรโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากผู้ปกครอง แต่ในที่สุดสังคมก็ยอมรับการเต้นรำแบบใหม่นี้ เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ (Alexander) แห่งรัสเซียได้เต้นรำจังหวะวอลซ์ที่อัลแมค ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับผู้ที่เกียรติยศชั้นสูง
ในประเทศสหรัฐอเมริกาปี ค.. 1960 ได้มีการเต้นรำจังหวะใหม่ๆ เกิดขึ้น โดยพวกอเมริกันนิโกร คือ จังหวะทวิสต์ (Twist) และจังหวะฮัสเซิ่ล (Hustle) ซึ่งได้รับความนิยมไปทั่วโลกและต่อมาในปี ค.. 1970 เกิดจังหวะการเต้นรำที่เรียกว่า ดิสโก้ (Disco Dancing) ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง เนื่องจากเป็นจังหวะที่ผู้เต้นมีอิสระในการเคลื่อนไหวอย่างมาก และยังมีการเต้นรำแบบใหม่ๆ เกิดขึ้นอีกหลายจังหวะ เช่น แฟลชแดนซ์ (Flash Dance) , เบรกแดนซ์ (Break Dance) และแรพ (Rap) เป็นต้น ซึ่งมักมีการกำเนิดจากพวกอเมริกัน
นิโกร นอกจากนั้นยังมีการเต้นรำโดยใช้ท่าการบริหารร่างกายประกอบจังหวะดนตรีที่ เรียกว่า แอโรบิกแดนซ์
(Aerobic Dance) ซึ่งยังคงได้รับความนิยมมากจนถึงปัจจุบันนี้ การเต้นรำในแบบและจังหวะต่างๆ เหล่านี้ไม่จัดอยู่ในประเภทของการลีลาศ


ประวัติการลีลาศของประเทศไทย
ไม่มีหลักฐานยืนยันได้แน่ชัดว่าการลีลาศในประเทศไทยเกิดขึ้นในสมัยใด สันนิษฐานว่าชาวต่างชาติได้นำมาเผยแพร่ในรัชสมัยของพรบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จุลศักราช 1226 จากบันทึกของ
แหม่มแอนนาทำให้มีหลักฐานเชื่อได้ว่าคนไทยลีลาศเป็นมาตั้งแต่สมัยพระองค์ และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงรบการยกย่องให้เป็นนักลีลาศคนแรกของไทย ตามบันทึกกล่าวว่าแหม่มแอนนาพยายามสอนพระองค์ท่านให้รู้จักวิธีการเต้นรำแบบสุภาพซึ่งเป็นที่นิยมของชาวตะวันตก โดยบอกว่าจังหวะวอลซ์นั้นหรูมาก นิยมเต้นกันในวังของประเทศในแถบยุโรป พร้อมกับแสดงท่าทางการเต้น พระองค์ท่านกลับสอนว่าใกล้เกินไป แขนต้องวางให้ถูกแล้ว พระองค์ท่านก็เต้นทำให้แหม่มแอนนาประหลาดใจ จึงไม่สามารถรู้ได้ว่าใครเป็นผู้สอนพระองค์ จึงได้สันนิษฐานกันว่าพระองค์ท่านคงจะศึกษาจากตำราด้วยพระองค์เอง
ปัจจุบันลีลาศได้รับการรับรองให้เป็นกีฬาจากคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (International Olympic Committee = IOC ) อย่างเป็นทางการมรการประชุมครั้งที่ 106 วันที่ 4 กันยายน พ.. 2540
ณ เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สำหรับในประเทศไทยคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย
ในสมัยที่มีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นประธานคณะกรรมการได้มีมติรับรองลีลาศเป็นการกีฬาอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่
18 กุมภาพันธ์ พ..2541 จัดเป็นกีฬาลำดับที่ 45 ของการกีฬาแห่งประเทศไทย และยังได้จัดให้มีการแข่งขันกีฬาลีลาศ(สาธิต)ขึ้นเป็นครั้งแรกในการแข่งขันกีฬา
เอเชียนเกม ครั้งที่
13 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ณ กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 6-20 ธันวาคม พ..2541


ความหมายของลีลาศ
       คำว่า ลีลาศ” หรือ “เต้นรำ” มีความหมายเหมือนกัน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานปีพุทธศักราช 2525ได้ให้ความหมายดังนี้
         ลีลาศ เป็นนามแปลว่า ท่าทางอันงดงาม การเยื้องกราย เป็นกิริยาแปลว่า เยื้องกราย เดินนวยนาด
         เต้นรำ เป็นกิริยาแปลว่า เคลื่อนที่ไปโดยมีระยะก้าวให้เข้ากับจังหวะดนตรี ซึ่งเรียกว่า ลีลาศ โดยปกติเต้นเป็นคู่ชายหญิง

       คนไทยนิยมเรียกการลีลาศว่า  “ เต้นรำ ”  มานานแล้ว  คำว่าลีลาศตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Ballroom  Dancing” หมายถึง การเต้นรำของคู่ชายหญิงตามจังหวะดนตรีที่มีแบบอย่างและลวดลายการเต้นเฉพาะตัว  โดยมีระเบียบของการชุมนุม  สถานที่อันจัดไว้ในสังคมใช้ในงานราตรีสโมสรต่าง ๆ และมิใช่การแสดงเพื่อให้คนดู  นอกจากนี้ยังมีคำอีกคำหนึ่งที่มักจะได้ยินกันอยู่เสมอคือคำว่า“Social  Dance” ส่วนใหญ่มักจะนำมาใช้ในความหมายเดียวกันกับคำว่า Ballroom  Dancing แต่ในประเทศสหรัฐอเมริกา
คำว่า
Social Dance หมายถึง การเต้นรำทุกประเภทที่จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คนมาอยู่ร่วมกันและได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเต้นรำเป็นหมู่คณะ  เพื่อให้ได้ความสนุกสานเพลิดเพลิน  จึงกล่าวได้ว่า Ballroom  Dancing เป็นส่วนหนึ่งของ Social  Dance (ธงชัย  เจริญทรัพย์มณี. 2538 : 1)
      อาจสรุปได้ว่า  “ลีลาศ” คือกิจกรรมเข้าจังหวะประเภทหนึ่ง เป็นการเต้นรำที่แสดงออกอย่างมีศิลปะ โดยใช้เสียงเพลงและจังหวะดนตรีเป็นสื่อ เพื่อให้เกิดความสนุกสนามเพลิดเพลิน มีลวดลายการเต้น (Figure) เป็นแบบเฉพาะตัว และมักนำลีลาศมาใช้ในงานสังคมทั่วๆไป

วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

กระบวนการสร้างเสริม และดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และระบบต่อมไร้ท่อ



ร่างกายของเรา
                อวัยวะทุกส่วนในร่างกายคนเราทำงานกับเป็นระบบ ทุกระบบมีความสำคัญต่อร่างกายทั้งสิ้น หากระบบใดทำงานผิดปกติก็จะส่งผลต่อระบบอื่นๆด้วย เราจึงควรสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่างๆในร่างกายให้ทำงานได้ตามปกติ
               
หลักการกระบวนการสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่างๆในร่างกาย
มีแนวทางปฏิบัติ  ดังนี้ รักษาอนามัยส่วนบุคคล บริโภคอาหารให้ถูกต้องเหมาะสม ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ และตรวจเช็คร่างกายอยู่เป็นประจำ
                ระบบประสาท
ระบบประสาท คือ ระบบที่ประกอบด้วยสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาททั่วร่างกาย ควบคุมการทำงานและการรับรู้ความรู้สึก รวมไปถึงความรู้สึก อารมณ์ ระบบประสาทแบ่งเป็นสองส่วนใหญ่ๆ คือระบบประสาทส่วนกลาง และระบบประสาทส่วนปลาย
                1.ระบบประสาทส่วนกลาง ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง เป็นศูนย์กลางควบคุมและประสานการทำงานของร่างกายทั้งหมด
                สมองแบ่งเป็น 2 ชั้น คือ เกรย์ มีสีเทา เป็นที่รวมเส้นประสาท และแมตเตอร์ มีสีขาว เป็นส่วนของใยประสาทที่ออกจากเซลล์ประสาท สมองยังแบ่งเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ สมองส่วนหน้า สมองส่วนกลาง สมองส่วนท้าย
                 
                สมองส่วนหน้า ประกอบด้วย ซีรีบรัม ทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำ ไหวพริบ เป็นศูนย์กลางควบคุมการทำงานของส่วนต่างๆของร่างกายที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจ และทาลามัส ทำหน้าที่ถ่ายทอดกระแสประสาทที่รับความรู้สึกไปยังสมอง และไฮโพทาลามัส ทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิร่างกาย การเต้นของหัวใจ
                สมองส่วนกลาง ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของลูกตาและม่านตา
                สมองส่วนท้าย ประกอบด้วย ซีรีเบลลัม ทำหน้าที่ดูแลการทำงานส่วนต่างๆของร่างกาย และระบบกล้ามเนื้อ พอนส์ ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานบางอย่าง เช่น การเคี้ยวอาหาร การหลั่งน้ำลาย และเมดัลา ออบลองกาตา ทำหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมกิจกรรมของระบบประสาทอัตโนมัติ
                2.ระบบประสาทส่วนปลาย ประกอบด้วยเส้นประสาทสมองเส้น ประสาทไขสันหลัง และระบบประสาทอัตโนมัติ ทำหน้าที่นำความรู้สึกเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลางไปอวัยวะ
                        การทำงานของระบบประสาท
                ระบบประสาทเป็นระบบทำงานประสานกันกับระบบกล้ามเนื้อ เช่นการควบคุมกล้ามเนื้อตาให้กลอกไปมา และจะส่งข้อมูลไปเรียบเรียงที่สมอง การควบคุมการเต้นของหัวใจ ความดันเลือด เป็นต้น
                การบำรุงรักษาระบบประสาท
                การบำรุงรักษาคือ
ระวังไม่ให้เกิดการกระทบกระเทือนบริเวณศรีษะ ระวังไม่ให้เกิดโรคทางสมอง หลีกเลี่ยงยาที่มีผลต่อสมอง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และผ่อนคลายความเครียด
                ระบบสืบพันธุ์
ระบบสืบพันธุ์ เป็นระบบที่เกี่ยวกับการเพิ่มจำนวนของสิ่งมีชีวิต เพื่อดำรงเผ่าพันธุ์ไว้
                อวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย มีดังนี้
                       
1.อัณฑะ ทำหน้าที่สร้างอสุจิ เป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศชาย และสร้างฮอร์โมน เพื่อควบคุมลักษณะต่างๆของเพศชาย
                        2. ถุงหุ้มอัณฑะ ทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิให้พอเหมาะในการสร้างอสุจิ
                       
3. หลอดเก็บอสุจิ ทำหน้าที่เก็บตัวอสุจิที่เจริญเต็มที่ก่อนจะส่งผ่านไปยังหลอดนำตัวอสุจิ
                       
4. หลอดนำตัวอสุจิ ทำหน้าที่ลำเลียงตัวอสุจิไปเก็บไว้ที่ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ
                       
5. ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ ทำหน้าที่สร้างอาหารให้ตัวอสุจิ
                       
6. ต่อมลูกหมาก ทำหน้าที่หลั่งสารที่มีฤทธิ์เป็นด่างอ่อน
                       
7. ต่อมปาวเคอร์ ทำหน้าที่หลั่งสารไปหล่อลื่นท่อปัสสาวะ

                อวัยวะเพศหญิงมีดังนี้
                1.รังไข่ ทำหน้าที่ดังนี้ ผลิตไข่ และสร้างฮอร์โมนเพศหญิง ซึ่งมีหลายชนิด ได้แก่ เอสโทรเจนเป็นฮอร์โมนทำหน้าที่ควบคุมเกี่ยวกับมดลูก ช่องคลอด และควบคุมลักษณะต่างๆของเพศหญิง และโพรเจสเทอโรน ทำงานร่วมกับเอสโทรเจนในการควบคุมเกี่ยวกับการเจริญของมดลูก การเปลี่ยนแปลงเยื่อบุมดลูก
                2.ท่อนำไข่หรือปีกมดลูก ทำหน้าที่ทางผ่านของไข่เข้าสู่มดลูก
                3.มดลูก ทำหน้าที่ฝังตัวของไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว และเป็นที่เจริญเติบโตของทารก
                4.ช่องคลอด ทำหน้าที่เป็นตัวผ่านของตัวอสุจิเข้าสู่มดลูก
                การบำรุงรักษาระบบประสาท
                การบำรุงรักษาคือ ดูแลร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ พักผ่อนให้เพียงพอ สวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาด และไม่สำส่อนทางเพศ
                ระบบต่อมไร้ท่อ
ระบบต่อมไร้ท่อ เป็นระบบที่ผลิตสารที่เรียกว่า ฮอร์โมน ระบบต่อมไร้ท่อในร่างการมีดังนี้
               
1.ต่อมใต้สมอง แบ่งเป็น 2 ส่วน คือส่วนต่อมใต้สมองส่วนหน้าและส่วนหลัง เป็นศุนย์ควบคุมใหญ่ของร่างกาย เช่น สร้างฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโตของร่างการและกระดูก
               
2.ต่อมหมวกไต แบ่งเป็น 2 ชั้น คือ ชั้นในสร้างฮอร์โมนอะดรีนาลิน ส่วนนอกควบคุมการเผาผลาญอาหาร
               
3.ต่อมไทรอยด์ สร้างฮอร์โมนไทรอกซินที่ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย
               
4.ต่อมพาราไทรอยด์  สร้างฮอร์โมนพาราฮอร์โมนที่ควบคุมแคลเซียมในเลือด และรักษาความเป็นกรด-ด่างในร่างกาย
               
5.ต่อมที่อยู่ในตับอ่อน ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณน้ำตาลของร่างกาย ถ้าขาดฮอร์โมนนี้จะทำให้เป็นโรคเบาหวาน
               
6.รังไข่ และอัณฑะ ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่ควบคุมลักษณะต่างๆของเพศหญิงและเพศชายตามลำดับ
               
7.ต่อมไทมัส ควบคุมการทำงานระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
                การบำรุงรักษาระบบต่อมไร้ท่อ
                การบำรุงรักษาคือ เลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ  งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อระบบไร้ท่อ และพักผ่อนให้เพียงพอ

จัดทำโดย นางสาวปภาวรินทร์ พลอมร ม.6/4 เลขที่ 22