วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

กระบวนการสร้างเสริม และดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และระบบต่อมไร้ท่อ



ร่างกายของเรา
                อวัยวะทุกส่วนในร่างกายคนเราทำงานกับเป็นระบบ ทุกระบบมีความสำคัญต่อร่างกายทั้งสิ้น หากระบบใดทำงานผิดปกติก็จะส่งผลต่อระบบอื่นๆด้วย เราจึงควรสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่างๆในร่างกายให้ทำงานได้ตามปกติ
               
หลักการกระบวนการสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่างๆในร่างกาย
มีแนวทางปฏิบัติ  ดังนี้ รักษาอนามัยส่วนบุคคล บริโภคอาหารให้ถูกต้องเหมาะสม ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ และตรวจเช็คร่างกายอยู่เป็นประจำ
                ระบบประสาท
ระบบประสาท คือ ระบบที่ประกอบด้วยสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาททั่วร่างกาย ควบคุมการทำงานและการรับรู้ความรู้สึก รวมไปถึงความรู้สึก อารมณ์ ระบบประสาทแบ่งเป็นสองส่วนใหญ่ๆ คือระบบประสาทส่วนกลาง และระบบประสาทส่วนปลาย
                1.ระบบประสาทส่วนกลาง ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง เป็นศูนย์กลางควบคุมและประสานการทำงานของร่างกายทั้งหมด
                สมองแบ่งเป็น 2 ชั้น คือ เกรย์ มีสีเทา เป็นที่รวมเส้นประสาท และแมตเตอร์ มีสีขาว เป็นส่วนของใยประสาทที่ออกจากเซลล์ประสาท สมองยังแบ่งเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ สมองส่วนหน้า สมองส่วนกลาง สมองส่วนท้าย
                 
                สมองส่วนหน้า ประกอบด้วย ซีรีบรัม ทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำ ไหวพริบ เป็นศูนย์กลางควบคุมการทำงานของส่วนต่างๆของร่างกายที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจ และทาลามัส ทำหน้าที่ถ่ายทอดกระแสประสาทที่รับความรู้สึกไปยังสมอง และไฮโพทาลามัส ทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิร่างกาย การเต้นของหัวใจ
                สมองส่วนกลาง ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของลูกตาและม่านตา
                สมองส่วนท้าย ประกอบด้วย ซีรีเบลลัม ทำหน้าที่ดูแลการทำงานส่วนต่างๆของร่างกาย และระบบกล้ามเนื้อ พอนส์ ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานบางอย่าง เช่น การเคี้ยวอาหาร การหลั่งน้ำลาย และเมดัลา ออบลองกาตา ทำหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมกิจกรรมของระบบประสาทอัตโนมัติ
                2.ระบบประสาทส่วนปลาย ประกอบด้วยเส้นประสาทสมองเส้น ประสาทไขสันหลัง และระบบประสาทอัตโนมัติ ทำหน้าที่นำความรู้สึกเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลางไปอวัยวะ
                        การทำงานของระบบประสาท
                ระบบประสาทเป็นระบบทำงานประสานกันกับระบบกล้ามเนื้อ เช่นการควบคุมกล้ามเนื้อตาให้กลอกไปมา และจะส่งข้อมูลไปเรียบเรียงที่สมอง การควบคุมการเต้นของหัวใจ ความดันเลือด เป็นต้น
                การบำรุงรักษาระบบประสาท
                การบำรุงรักษาคือ
ระวังไม่ให้เกิดการกระทบกระเทือนบริเวณศรีษะ ระวังไม่ให้เกิดโรคทางสมอง หลีกเลี่ยงยาที่มีผลต่อสมอง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และผ่อนคลายความเครียด
                ระบบสืบพันธุ์
ระบบสืบพันธุ์ เป็นระบบที่เกี่ยวกับการเพิ่มจำนวนของสิ่งมีชีวิต เพื่อดำรงเผ่าพันธุ์ไว้
                อวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย มีดังนี้
                       
1.อัณฑะ ทำหน้าที่สร้างอสุจิ เป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศชาย และสร้างฮอร์โมน เพื่อควบคุมลักษณะต่างๆของเพศชาย
                        2. ถุงหุ้มอัณฑะ ทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิให้พอเหมาะในการสร้างอสุจิ
                       
3. หลอดเก็บอสุจิ ทำหน้าที่เก็บตัวอสุจิที่เจริญเต็มที่ก่อนจะส่งผ่านไปยังหลอดนำตัวอสุจิ
                       
4. หลอดนำตัวอสุจิ ทำหน้าที่ลำเลียงตัวอสุจิไปเก็บไว้ที่ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ
                       
5. ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ ทำหน้าที่สร้างอาหารให้ตัวอสุจิ
                       
6. ต่อมลูกหมาก ทำหน้าที่หลั่งสารที่มีฤทธิ์เป็นด่างอ่อน
                       
7. ต่อมปาวเคอร์ ทำหน้าที่หลั่งสารไปหล่อลื่นท่อปัสสาวะ

                อวัยวะเพศหญิงมีดังนี้
                1.รังไข่ ทำหน้าที่ดังนี้ ผลิตไข่ และสร้างฮอร์โมนเพศหญิง ซึ่งมีหลายชนิด ได้แก่ เอสโทรเจนเป็นฮอร์โมนทำหน้าที่ควบคุมเกี่ยวกับมดลูก ช่องคลอด และควบคุมลักษณะต่างๆของเพศหญิง และโพรเจสเทอโรน ทำงานร่วมกับเอสโทรเจนในการควบคุมเกี่ยวกับการเจริญของมดลูก การเปลี่ยนแปลงเยื่อบุมดลูก
                2.ท่อนำไข่หรือปีกมดลูก ทำหน้าที่ทางผ่านของไข่เข้าสู่มดลูก
                3.มดลูก ทำหน้าที่ฝังตัวของไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว และเป็นที่เจริญเติบโตของทารก
                4.ช่องคลอด ทำหน้าที่เป็นตัวผ่านของตัวอสุจิเข้าสู่มดลูก
                การบำรุงรักษาระบบประสาท
                การบำรุงรักษาคือ ดูแลร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ พักผ่อนให้เพียงพอ สวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาด และไม่สำส่อนทางเพศ
                ระบบต่อมไร้ท่อ
ระบบต่อมไร้ท่อ เป็นระบบที่ผลิตสารที่เรียกว่า ฮอร์โมน ระบบต่อมไร้ท่อในร่างการมีดังนี้
               
1.ต่อมใต้สมอง แบ่งเป็น 2 ส่วน คือส่วนต่อมใต้สมองส่วนหน้าและส่วนหลัง เป็นศุนย์ควบคุมใหญ่ของร่างกาย เช่น สร้างฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโตของร่างการและกระดูก
               
2.ต่อมหมวกไต แบ่งเป็น 2 ชั้น คือ ชั้นในสร้างฮอร์โมนอะดรีนาลิน ส่วนนอกควบคุมการเผาผลาญอาหาร
               
3.ต่อมไทรอยด์ สร้างฮอร์โมนไทรอกซินที่ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย
               
4.ต่อมพาราไทรอยด์  สร้างฮอร์โมนพาราฮอร์โมนที่ควบคุมแคลเซียมในเลือด และรักษาความเป็นกรด-ด่างในร่างกาย
               
5.ต่อมที่อยู่ในตับอ่อน ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณน้ำตาลของร่างกาย ถ้าขาดฮอร์โมนนี้จะทำให้เป็นโรคเบาหวาน
               
6.รังไข่ และอัณฑะ ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่ควบคุมลักษณะต่างๆของเพศหญิงและเพศชายตามลำดับ
               
7.ต่อมไทมัส ควบคุมการทำงานระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
                การบำรุงรักษาระบบต่อมไร้ท่อ
                การบำรุงรักษาคือ เลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ  งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อระบบไร้ท่อ และพักผ่อนให้เพียงพอ

จัดทำโดย นางสาวปภาวรินทร์ พลอมร ม.6/4 เลขที่ 22

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น